“ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน” : 5 ผลกระทบต่อลูก จากความ toxic ของพ่อแม่

ครอบครัว
“ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน” “พ่อแม่ toxic” เราอาจได้ยินสำนวนเหล่านี้อยู่บ่อย ๆ แต่ทุกคนรู้มั้ยว่าพ่อแม่ toxic คืออะไร และสามารถส่งผลกระทบกับชีวิตคนเป็นลูกอย่างเรายังไงบ้าง?

“พ่อแม่ toxic” หรือ “พ่อแม่เป็นพิษ” หมายถึง พ่อแม่ที่มีรูปแบบพฤติกรรมการเลี้ยงดูในทางลบอย่างต่อเนื่อง จนส่งอิทธิพลต่อชีวิตของลูก เช่น พ่อแม่ที่ปล่อยปละละเลย พ่อแม่ที่เข้มงวด ปกป้องลูกจนเกินควร พ่อแม่ที่ทำร้ายลูกทั้งทางร่างกายและจิตใจ บีบบังคับลูกอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ วันนี้ on mind way จึงขอยกตัวอย่างผลกระทบ 5 ข้อของพ่อแม่ toxic ที่มีต่อลูกๆ กัน

วันนี้ on mind way จึงขอยกตัวอย่างผลกระทบ 5 ข้อของพ่อแม่ toxic ที่มีต่อลูกๆ กัน

1. พัฒนาการด้านอารมณ์ของลูกมีปัญหา

พ่อแม่ที่ปล่อยปละละเลย ไม่ให้ความสำคัญกับอารมณ์ของลูก ทำให้ลูกไม่มีโอกาสได้พัฒนาตัวตนด้านอารมณ์ หรือไม่มีแบบอย่างด้านอารมณ์ที่ดี ลูกอาจไม่เข้าใจอารมณ์ของตนเอง ไม่เข้าใจว่าตัวเองเป็นใครหรือต้องการอะไร รวมถึงอาจไม่สามารถแสดงอารมณ์ออกมาอย่างเหมาะสมได้

2. ลูกกลายเป็น perfectionist มักวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง

แม้บางครั้ง “การทำให้ดีที่สุด” จะฟังดูเป็นสิ่งที่ดี แต่สำหรับบางคนที่ถูกเลี้ยงดูโดยพ่อแม่ที่เข้มงวด มีความคาดหวังสูงเกินจริงและลงโทษแม้จะลูกจะทำสิ่งผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ส่งผลให้ลูกมีความคาดหวังกับตนเองสูงเกินควรตามมา ไม่กล้าทำอะไรใหม่ ๆ เพราะกลัวการถูกวิพากษ์วิจารณ์และกลัวความผิดพลาด ล้มเหลว

3. ลูกรู้สึกไม่มีอำนาจในการกำหนดชีวิตตนเอง (sense of autonomy)

ลูกที่พ่อแม่มักเป็นผู้บงการ บังคับ หรือตัดสินใจ เรื่องต่าง ๆ ในชีวิตให้ โดยไม่มีโอกาสได้เลือกเองบ้าง เมื่อโตขึ้นจะไม่คุ้นเคยกับการต้องตัดสินใจด้วยตัวเอง และอาจทำให้ไม่มีความมั่นใจในตนเอง ไม่รู้ว่าตนเองต้องการอะไร ไม่กล้าเลือก ไม่กล้าตัดสินใจ

4. รู้สึกตนเองไม่มีค่า ขาด Self-esteem

ลูกที่มักถูกพ่อแม่ต่อว่า หรือแม้แต่ล้อเลียนให้รู้สึกไม่ดีกับตนเองอยู่บ่อยครั้ง คำพูดของพ่อแม่จะส่งผลต่อส่งภาพลักษณ์ที่เด็กมีต่อตนเอง (Self-Image) รับเอาคำพูดเหล่านั้นเข้ามาเป็นความเชื่อที่มีต่อตนเอง เมื่อมีภาพลักษณ์หรือความเชื่อทางลบต่อตนเอง ก็จะมีแนวโน้มเครียด กังวล รู้สึกกลัวอยู่บ่อยครั้ง ตลอดจนมีภาวะซึมเศร้าได้ง่าย รวมถึงเมื่อเด็กพบความไม่แน่นอนในครอบครัวบ่อย ๆ เช่น พ่อแม่มักโกหก ก็จะมีปัญหาในการเชื่อใจผู้อื่น เพราะแม้แต่ในครอบครัวก็ไม่อาจเชื่อใจได้

5. อาจมีรูปแบบความสัมพันธ์เดิม กับความสัมพันธ์อื่น ๆ ในชีวิต

เราอาจมีรูปแบบความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ในชีวิต เช่น กับลูกหรือคนรักในแบบเดียวกับที่เคยมีกับพ่อแม่โดยไม่รู้ตัว เพราะเป็นสิ่งที่เราคุ้นชิน เช่น คนที่โตมากับการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ก็อาจใช้พฤติกรรมเดียวกันกับลูกของตนเอง คนที่มีสมาชิกในครอบครัวติดเหล้า ก็อาจมีคู่ครองที่ติดเหล้าได้โดยไม่รู้ตัวว่าความสัมพันธ์เหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกัน

🌟แต่ข่าวดีคือ รูปแบบพฤติกรรมและความสัมพันธ์เหล่านี้ เป็นสิ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนให้มันจบที่เราได้ แม้เราไม่อาจกลับไปแก้ไขเรื่องราวในอดีตได้ แต่ในตอนนี้ที่เราเข้าใจผลกระทบจากในอดีต เราสามารถเลือกที่จะดูแลใจตัวเองในตอนนี้ได้ การทบทวน ทำความเข้าใจตนเอง รวมถึงการพูดคุยกับนักจิตวิทยา นักจิตบำบัด เป็นทางเลือกที่สามารถทำได้ในการเยียวยาและพัฒนาตัวเอง เพื่อมีชีวิต และความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นได้

on mind way ขอเป็นกำลังใจให้คนที่เป็นลูก และทุกๆคนที่เคยอยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ ก้าวข้ามผ่านบาดแผลทางใจนี้ได้โดยเร็ว

 

🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱

🔆 อยากนัดหมายเพื่อปรึกษากับนักจิตวิทยา แอดไลน์สอบถามได้ที่
Line : @onmindway / คลิกเพื่อแอดไลน์ https://lin.ee/JB46W3W

🔆 รายชื่อนักจิตวิทยาของเรา
https://onmindway.com/psychologist/

Picture of สุทธจิต บูรณกานนท์

สุทธจิต บูรณกานนท์

นักจิตวิทยาการปรึกษา on mind way counseling center

Tags :
Share This Post :

Related Post

ชีวิตคู่

ชีวิตคู่ เหมือน ลิ้นกับฟัน… แต่ถ้า “สื่อสารดี” ทะเลาะกันก็ไม่ Toxic

เป็นปกติที่ยิ่งคนเราสนิทกันมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสได้เห็นถึงตัวตนต่าง ๆ ซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น จึงไม่แปลกเลยที่จะมี “ความขัดแย้ง” “กระทบกระทั้ง” “ผิดใจ” หรือ “ไม่เข้าใจกัน” ยิ่งในชีวิตคู่แล้ว ยิ่งมีความซับซ้อนขึ้นไปใหญ่ เพราะมันเต็มไปด้วย “ความคาดหวัง” และ “ความต้องการ” ที่เรามีทั้งต่อตัวเองและมีต่อคนรักของเรา จึงทำให้ความขัดแย้งมักเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง

Read More »
กังวล

“ความกังวล” ของเราต่างกัน… ชวนรู้จัก 5 แบบของความกังวล

ความคิดกังวลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และเป็นเรื่องปกติ แต่หากความคิดนั้นเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำให้คุณภาพของการใช้ชีวิตลดลง อาจเป็นสัญญาณว่าเราอาจเข้าข่ายเป็นโรควิตกกังวล

Read More »
คุยกับเพื่อน

คุยกับนักจิต vs คุยกับเพื่อน ต่างกันยังไง??

แม้ว่าจะเป็น “พื้นที่ปลอดภัย” เหมือนกัน แต่การคุยกับเพื่อน และนักจิตวิทยา ก็มีหลายประเด็นที่มีความแตกต่างกัน บทความนี้ on mind way จึงได้รวบรวมประเด็นความแตกต่างเหล่านั้นมานำเสนอให้ทุกคนได้เข้าใจมากขึ้น

Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save