จิตแพทย์ vs นักจิตวิทยา…ควรไปหาใครดี ??

จิตแพทย์
รู้หรือไม่ จิตแพทย์ กับ นักจิตวิทยา ไม่ใช่อาชีพเดียวกันนะ…

วันนี้เราจะมาอธิบายความแตกต่างของทั้ง 2 อาชีพ เพื่อให้ทุกคนเลือกใช้บริการได้ตรงตามจุดประสงค์ และความต้องการ

เริ่มจาก จิตแพทย์ ก่อนเลย…

ขึ้นชื่อว่า “แพทย์” แน่นอนว่า เป้าหมายของอาชีพนี้ก็คือ “การรักษา” โดยคุณหมอก็จะมีการสอบถามอาการของเรา แล้ววินิจฉัยตามลักษณะอาการ คล้ายๆ กับเวลาเราไม่สบายทางกาย ซึ่งจะวินิจฉัยโดยอ้างอิงจากเกณฑ์ทางอาการของโรคทางจิตเวชเป็นหลัก เช่น เกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว บวกกับการพิจารณากลไกทางร่างกาย เช่น ระบบสมอง สารสื่อประสาท ฮอร์โมน ร่วมด้วย

พอคุณหมอวินิจฉัยแล้ว ก็อาจจะมีการประเมินเพื่อจ่ายยามาให้ทานควบคู่กันในการรักษา

ส่วน นักจิตวิทยา…

จริงๆ แล้วความหมายของ “นักจิตวิทยา” ค่อนข้างกว้างมาก เพราะในศาสตร์จิตวิทยาเองก็มีหลายสาขา แต่ที่เรากำลังพูดถึงอยู่คือ นักจิตวิทยาการปรึกษา หรือ (Counselor/Counseling Psychologist) ซึ่งเป็นคนที่เรียนจบด้านการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยามาโดยตรง

ทุกคนอาจจะเคยเห็นในหนังฝรั่งหลายเรื่อง ที่ตัวละครเข้าไปนั่ง หรือนอนเล่าปัญหาของตนเองให้ผู้เชี่ยวชาญฟัง นั่นล่ะ คืองานของนักจิตวิทยาการปรึกษา ที่จะรับฟังเรื่องราวของผู้ที่เข้ามารับบริการ ทำความเข้าใจความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม ให้เกิดความเข้าใจในความทุกข์ใจ หรือปัญหาชัดเจนขึ้น จนนำไปสู่การทบทวน และมองเห็นแนวทางในการรับมือ หรือแก้ไขปัญหาร่วมกันผ่านการพูดคุย

ดังนั้น การมาพูดคุยกับนักจิตวิทยา จะไม่ได้มุ่งเน้นการวินิจฉัยโรค และนักจิตวิทยาไม่สามารถจ่ายยาให้ได้ แต่จะเน้นการพูดคุยเพื่อให้ผู้รับบริการเข้าใจและจัดการกับสภาวะอารมณ์ รวมถึงปัญหาของตนเองได้ เหมือนเป็นการมาทำความรู้จักกับจิตใจของตนเองให้มากขึ้น และรับมือกับความกังวลต่างๆ ได้อย่างดีต่อใจมากขึ้น

ดังนั้นสำหรับคนที่ลังเลอยู่ ว่าจะต้องไปหาใครก่อน คำตอบก็คงขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่เราต้องการ หากมีอาการที่ค่อนข้างรุนแรง รู้สึกว่าปัญหาที่เกิดขึ้นรบกวน และกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน หรือมีอาการทางกายชัดเจน เช่น นอนไม่หลับ ไม่สามารถจดจ่อกับงานได้เหมือนเดิม การเข้ารับการรักษากับจิตแพทย์ และรับยามาเพื่อช่วยปรับสภาวะอารมณ์ก็อาจจะตรงกับความต้องการมากกว่า แต่ถ้าอยากพูดคุย เพื่อทำความเข้าใจความเครียด ความทุกข์ในใจ และหาทางรับมือกับสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเอง นักจิตวิทยาก็เป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ตรงนี้ได้ดีเช่นกัน

🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱

🔆 อยากปรึกษานักจิตวิทยา แอดไลน์สอบถามได้ที่
Line : @onmindway / คลิกเพื่อแอดไลน์ https://lin.ee/JB46W3W

🔆 รายชื่อนักจิตวิทยาของเรา
https://onmindway.com/psychologist

Picture of ศุภวรรณ ใหญ่เสมอ (เบล)

ศุภวรรณ ใหญ่เสมอ (เบล)

นักจิตวิทยาการปรึกษา on mind way counseling center

Tags :
Share This Post :

Related Post

คุยกับตัวเอง

คุยกับตัวเองยังไง…ให้ดีต่อใจ

การคุยกับตัวเอง (self-talk) คือการสื่อสารกับตัวเองด้วยเสียงจากข้างในของเรา ที่มาจากความคิด ความเชื่อ และประสบการณ์ที่ผ่านมา แน่นอนว่า การคุยกับตัวเอง ไม่ใช่เรื่องแปลกและเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเกือบจะตลอดเวลา รวมทั้งมีผลโดยตรงกับทั้งความคิด ความรู้สึก การกระทำ และการตัดสินใจของตัวเรา บทความนี้ เราจึงอยากนำเสนอแนวทางในการคุยกับตัวเองเชิงบวก 3 แนวทาง

Read More »
ความคิด

รู้จัก ความคิดที่ทำให้เราทุกข์ หรือ “Cognitive Distortions”

Cognitive Distortions คือ“รูปแบบความคิดต่างๆ ที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง นำไปสู่การมองสิ่งต่างๆ ในแง่ลบ ที่ทำให้เรามีความเชื่อทางลบเกี่ยวกับตัวเองหรือสิ่งต่างๆ รอบตัวโดยไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง”

Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save