การนอนไม่หลับเป็นหนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้คนในหลายช่วงวัย ซึ่งสามารถเกิดได้จากปัจจัยทั้งทางกายภาพ หรือรูปแบบในการใช้ชีวิต แต่สิ่งหนึ่งที่มักเกิดขึ้นกับหลายๆคนคือ โดยเฉพาะเมื่อมีสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกเครียด คือการคิดมาก หรือกังวล
เรามาดูกันว่า นอกจากความเครียดแล้ว พฤติกรรมที่มักทำให้คนเรานอนหลับยากขึ้นมีอะไรบ้าง แล้วเราจะจัดการกับความคิดความกังวลในการนอนอย่างไร
พฤติกรรมที่ทำให้เกิดความกังวลในช่วงเวลาก่อนนอน
1. การดูเวลาว่าเหลือเวลานอนอีกกี่ชั่วโมง
หลายครั้งเมื่อทำงานดึก หรือตื่นมากลางดึก เราก็มักจะมองไปดูเวลาอย่างไม่รู้ตัว ซึ่งหากเวลาเหลือน้อย ก็อาจทำให้เกิดความกังวลว่าจะนอนได้ไม่เพียงพอ ซึ่งก็มักทำให้เรามีความกังวลนี้ต่อไปซักพัก จนทำเสียเวลานอนมากขึ้นไปอีก สิ่งที่สามารถทำได้คือ ลดการดูเวลา และ ลองคิดแทนว่า ถึงแม้จะได้นอนน้อย แต่ก็ยังดีกว่าการที่ไม่ได้นอนเลย
2. มี Mindset ว่าต้อง ‘หยุดคิด’ ให้ได้ถึงจะหลับ
แม้ว่าการหยุดคิดจะดูเป็แต่การบังคับให้ตัวเองหยุดคิดนั้นเป็นสิ่งที่ยากที่จะทำ ซึ่งเมื่อพยายามห้ามความคิดในหัวแล้ว แต่ยังไม่สามารถทำได้ ก็จะให้เกิดความกังวลมากขึ้นว่าทำไมถึงหยุดคิดไม่ได้สักดี ซึ่งสิ่งที่สามารถทำได้คือ การไม่โฟกัสกับการที่จะต้อง ‘หยุดคิด’ และลองปล่อยให้ตัวเองรับรู้ถึงความคิดที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงความคิด หรือห้ามตัวเองไม่ให้คิด
ความกังวลที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ทั้งจากการทำงาน การเรียน หรือจากการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป สามารถทำให้เกิดการคิดวน หรือการคิดมากได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นปัจจัยหลักของการนอนไม่หลับ เพราะวงจรของการคิดมากจะเกิดขึ้นซ้ำๆ จนกว่าเราจะสังเกตได้ว่าตัวเองกำลังคิดมากอยู่
แล้วเราสามารถทำอย่างไรได้บ้างที่จะจัดการกับความคิดความกังวลเหล่านี้
1. เซ็ทเวลา ‘สำหรับการคิด’ ในแต่ละวัน
เซ็ทช่วงเวลาในแต่ละวัน ที่จะอนุญาตให้ตัวเองได้ คิด กังวล และจัดการกับเรื่องที่ทำให้กังวลในแต่ละวัน (Worry time) แทนที่จะมาคิดกังวลก่อนนอน
2. เปลี่ยนความกังวลในหัวให้เป็น ‘รูปธรรม’
โดยการ take action กับปัญหา เช่น หากเรากังวลเรื่องการสอบในอาทิตย์หน้า แทนที่จะคิดกังวลเรื่องนี้อย่างเดียว ก็สามารถ take action ด้วยการจัดตารางในการอ่านหนังสือ หรือหากมีความกังวลเพราะไม่ค่อยมีเวลาให้กับครอบครัว การแก้ปัญหาก็อาจเป็นการจัดทริปไปเที่ยวกับครอบครัว
3. ใช้วิธีการหายใจแบบ 4 7 8
โดยที่ หายใจเข้า 4 วินาที กลั้นหายใจค้างไว้ 7 วินาที และหายใจออก 8 วินาที โดยสามารถทำได้เรื่อยๆจนกว่าจะรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
4. Mental imagery
จินตนาการถึงเหตุการณ์ที่ทำให้ผ่อนคลาย เช่นนึกถึงบรรยากาศตอนเดินเล่นบนหาดทรายสวยๆ หรือตอนได้เล่นกับสัตว์เลี้ยง
การปรับความคิดและพฤติกรรมเหล่านี้ต้องใช้การฝึกฝน เพื่อที่จะให้เกิดความเคยชินและเกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น on mind way อยากให้ทุกคนให้เวลาตัวเอง และค่อยๆฝึกฝนทักษะนี้กันนะคะ
🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱
🔆 อยากปรึกษานักจิตวิทยา แอดไลน์สอบถามได้ที่
Line : @onmindway / คลิกเพื่อแอดไลน์ https://lin.ee/JB46W3W
🔆 รายชื่อนักจิตวิทยาของเรา
https://onmindway.com/psychologist/