4 ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับการปรึกษานักจิตวิทยา

ปรึกษานักจิตวิทยา
การดูแลสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่หลายๆ คน ให้ความสนใจมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นการไปหาจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยาเวลาที่เจอกับปัญหา หรือความไม่สบายใจจึงถือเป็นเรื่องที่ปกติมากขึ้นในสังคม อย่างไรก็ตามเนื่องจากการปรึกษานักจิตวิทยานั้น ถือเป็นบริการที่ค่อนข้างใหม่ในประเทศไทย จึงอาจจะทำให้หลายคนยังคงมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับบริการนี้อยู่บ้าง ในวันนี้ on mind way จึงอยากชวนมาทำความเข้าใจ 4 ประเด็นที่คนมักจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำงานของนักจิตวิทยาการปรึกษา

1. นักจิตวิทยา ไม่ใช่ จิตแพทย์ … เราเน้นทำงานในบทบาทที่แตกต่างกัน

นักจิตวิทยาจะทำงานผ่านการพูดคุยเพื่อให้เข้าใจตนเองมากขึ้น และชวนปรับเปลี่ยนมุมมองบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อใจ ให้เป็นมุมมองที่ดีต่อสภาวะใจตนเองและมีพื้นฐานใจที่แข็งแรงมากขึ้น

จิตแพทย์จะเน้นการวินิจฉัยและรักษา สามารถจ่ายยา เพื่อช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ช่วงที่ยังไม่สามารถควบคุมสภาวะอารมณ์ หรือจัดการใจได้ เช่น ยาต้านเศร้า ยาสมาธิสั้น ยานอนหลับ

2. ❌ ต้องไปหาจิตแพทย์ก่อน ถึงคุยกับนักจิตวิทยาได้

✅ ไม่จำเป็นต้องมีคำวินิจฉัยจากแพทย์ ก็คุยกับนักจิตวิทยาได้

ถ้าหากต้องการพื้นที่ในการจัดการอารมณ์ ทำความเข้าใจตนเอง และปรับเปลี่ยนมุมมองความคิด ก็ทำนัดเข้ามาคุยได้เลย

แต่ถ้าหากผู้รับบริการมีแนวโน้มของภาวะของโรคทางจิตเวชร่วมด้วย นักจิตวิทยาจะแนะนำให้พบจิตแพทย์ ควบคู่กับการพูดคุย บำบัด กับนักจิตวิทยา

3. ❌ ถ้าคุยกับนักจิตวิทยา จะต้องกลับไปแตะเรื่องสะเทือนใจและร้องไห้ทุกครั้ง

✅ ไม่เสมอไป คุยเสร็จแล้วใจฟูก็มีนะ 🙂

แต่ก็คงมีบ้าง ที่นักจิตวิทยาชวนกลับไปทบทวนบางเรื่องที่ส่งผลต่อใจของเรา เพื่อทำความเข้าใจ และปรับเปลี่ยนมุมมองให้เราอยู่กับเรื่องนั้นๆ ได้อย่างดีต่อใจมากขึ้น เพราะการพูดคุยกับนักจิตวิทยา คือ พื้นที่ในการกลับไปทำความเข้าใจตัวเอง ทั้งด้านบวกและลบ

4. ❌ ต้องมีปัญหาหนักมากๆ ถึงเข้ามาคุยได้

✅ เรื่องเล็กหรือใหญ่แค่ไหน ก็มาคุยได้ เพื่อหาทางรับมือแบบที่ดีต่อใจตนเอง

เพราะคนเรามีพื้นฐานใจที่รับปัญหาได้ไม่เท่ากัน บางเรื่องอาจจะดูเล็กในสายตาคนอื่น แต่กระทบใจมากๆ สำหรับเรา…อย่ารอให้ใจพัง แล้วค่อยหาทางกู้ใจ แต่มาคุยเพื่อเสริมเกราะป้องกันใจ ในวันที่ยังไหวน่าจะดีกว่า

เหมือนเวลาป่วยกาย หากดูแลตัวเองตอนอาการยังน้อยๆ ร่างกายก็จะมีภูมิคุ้มกัน ไม่ทรุดหนัก และรักษาง่ายกว่าตอนที่ปล่อยให้ร่างกายพังไปแล้ว

 

🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱

🔆 อยากนัดหมายเพื่อปรึกษากับนักจิตวิทยา แอดไลน์สอบถามได้ที่
Line : @onmindway / คลิกเพื่อแอดไลน์ https://lin.ee/JB46W3W

🔆 รายชื่อนักจิตวิทยาของเรา
https://onmindway.com/psychologist/

Picture of ศุภวรรณ ใหญ่เสมอ

ศุภวรรณ ใหญ่เสมอ

นักจิตวิทยาการปรึกษา on mind way counseling center

Tags :
Share This Post :

Related Post

ชีวิตคู่

ชีวิตคู่ เหมือน ลิ้นกับฟัน… แต่ถ้า “สื่อสารดี” ทะเลาะกันก็ไม่ Toxic

เป็นปกติที่ยิ่งคนเราสนิทกันมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสได้เห็นถึงตัวตนต่าง ๆ ซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น จึงไม่แปลกเลยที่จะมี “ความขัดแย้ง” “กระทบกระทั้ง” “ผิดใจ” หรือ “ไม่เข้าใจกัน” ยิ่งในชีวิตคู่แล้ว ยิ่งมีความซับซ้อนขึ้นไปใหญ่ เพราะมันเต็มไปด้วย “ความคาดหวัง” และ “ความต้องการ” ที่เรามีทั้งต่อตัวเองและมีต่อคนรักของเรา จึงทำให้ความขัดแย้งมักเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง

Read More »
กังวล

“ความกังวล” ของเราต่างกัน… ชวนรู้จัก 5 แบบของความกังวล

ความคิดกังวลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และเป็นเรื่องปกติ แต่หากความคิดนั้นเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำให้คุณภาพของการใช้ชีวิตลดลง อาจเป็นสัญญาณว่าเราอาจเข้าข่ายเป็นโรควิตกกังวล

Read More »
คุยกับเพื่อน

คุยกับนักจิต vs คุยกับเพื่อน ต่างกันยังไง??

แม้ว่าจะเป็น “พื้นที่ปลอดภัย” เหมือนกัน แต่การคุยกับเพื่อน และนักจิตวิทยา ก็มีหลายประเด็นที่มีความแตกต่างกัน บทความนี้ on mind way จึงได้รวบรวมประเด็นความแตกต่างเหล่านั้นมานำเสนอให้ทุกคนได้เข้าใจมากขึ้น

Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save