ต้องเครียดแค่ไหน ถึงควรปรึกษานักจิตวิทยา? ??

เครียด
ปัญหาสุขภาพจิต ทั้งประเด็นของ “เครียด” “ซึมเศร้า” “วิตกกังวล” หรือ “ภาวะหมดไฟ” กลายเป็นคำที่คุ้นหู และคุ้นตามากขึ้นจากข้อความบนสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ซึ่งการเรียนรู้ เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพจิตมากขึ้นนั้น ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บุคคลเปิดใจและสนใจที่จะศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบริการการช่วยเหลือทางสุขภาพจิตอย่างการพูดคุยกับนักจิตวิทยาการปรึกษามากขึ้นตามไปด้วย

อย่างไรก็ตามการรับบริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยากับนักจิตวิทยาการปรึกษานั้น ก็ยังถือว่าเป็นรูปแบบของบริการที่ค่อนข้างใหม่ในประเทศไทย ดังนั้นหลายคนก็อาจจะมีความสงสัย หรือมีคำถามว่า “ต้องมีปัญหาแค่ไหน” หรือ “เมื่อไหร่ที่เราควรไปหานักจิตวิทยา”

ต้องบอกก่อนว่าคำถามนี้ไม่ได้มีคำตอบที่ถูกต้องที่สุด ข้อมูลที่รวบรวมมาเป็นเพียงตัวช่วยที่ให้ทุกคนได้ลองกลับมาสังเกตสุขภาพใจของตนเองว่ากำลังเป็นอย่างไร และมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่จะต้องมองหาความช่วยเหลือจากบุคคลรอบข้าง หรือผู้เชี่ยวชาญไม่ว่าจะเป็นจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาการปรึกษา โดยเราจะแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลัก

ประเด็นที่ 1 : เมื่อคุณเจอกับปัญหาบางอย่างในการดำเนินชีวิต

  • เมื่อคุณเจอการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในชีวิต ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมอย่างการย้ายโรงเรียน การเปลี่ยนงาน หรือเจอกับการเปลี่ยนแปลงทางบทบาทบางอย่างในชีวิต อย่างการกลายเป็นพ่อ-แม่ การเกษียณ หรือการหยุดทำงานแล้วกลับมาอยู่บ้าน
  • เมื่อคุณประสบกับกับเหตุการณ์ที่มีผลกระทบทางจิตใจ อย่างการสูญเสีย การเจอกับอุบัติเหตุร้ายแรง การเจอกับความรุนแรงทั้งทางร่างกาย และจิตใจจากบุคคลอื่น หรือแม้กระทั่งเป็นหนึ่งในผู้เห็นเหตุการณ์ที่มีความรุนแรงหรือมีความสูญเสีย
  • เมื่อคุณพบกับความเครียด หรือความไม่สบายใจในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นจากการเรียน การทำงาน ความสัมพันธ์ หรือสถานการณ์ในสังคม

แน่นอนว่าเมื่อเจอกับสถานการณ์ข้างต้น ทุกคนย่อมเกิดความรู้สึกทางลบขึ้นไม่มากก็น้อย ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของอารมณ์ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณรับรู้ว่าปัญหาที่เกิดทำให้คุณภาพในการใช้ชีวิตของคุณลดลง ปัญหาเหล่านั้นส่งผลกระทบให้ประสิทธิภาพในการเรียนหรือการทำงานของคุณลดลง คุณเริ่มมีปัญหาในการจัดการอารมณ์ และมีปัญหาในความสัมพันธ์กับคนรอบตัว ก็อาจจะเป็นสัญญาณที่คุณอาจจะต้องนึกถึงถึงการมาหานักจิตวิทยาเพื่อพูดคุย ทำความเข้าใจ ยอมรับและหาทางจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น

 

ประเด็นที่ 2 : เมื่อคุณอยากที่จะพัฒนาและทำความเข้าใจตนเองให้มากขึ้น

  • เมื่อคุณอยากที่จะหาสิ่งที่ตนเองสนใจ สิ่งที่ตนเองอยากทำ อยากหาเป้าหมายและแนวทางที่จะไปถึงเป้าหมายที่คุณให้ความสำคัญในชีวิต
  • เมื่อคุณอยากที่จะพัฒนาทักษะของตัวคุณเอง เช่น ทักษะการสื่อสารกับคนรอบข้าง ทักษะการรับมือกับปัญหา แนวทางการดูแลใจของตัวเอง รวมไปถึงแนวทางในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง
  • เมื่อคุณอยากที่จะตระหนักในความคิด ความรู้สึก และเข้าใจตนเองให้มากขึ้น เพื่อให้เห็นถึงรูปแบบความคิด รูปแบบการตัดสินใจ เพื่อนำไปสู่การมองเห็นจุดแข็งและแนวทางในการพัฒนาข้อจำกัดของตนเอง

 

จะเห็นได้ว่าการมาหานักจิตวิทยานั้นไม่ได้จำกัดแค่การมาเพื่อหาทางจัดการหรือหาทางออกจากปัญหาที่เจอเท่านั้น แต่ยังเป็นการช่วยให้คุณได้มาพัฒนาและทำความเข้าใจตนเองมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งในการพูดคุยกับนักจิตวิทยา คุณจะได้มีโอกาสสำรวจและทำความเข้าใจตนเองเพื่อให้คุณได้มองเห็นแนวทางในการจัดการกับปัญหาหรือแนวทางในการพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด

 

🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱

🔆 อยากปรึกษานักจิตวิทยา แอดไลน์สอบถามได้ที่
Line : @onmindway / คลิกเพื่อแอดไลน์ https://lin.ee/JB46W3W

🔆 รายชื่อนักจิตวิทยาของเรา
https://onmindway.com/psychologist/

Picture of ชนิศา วุฒิโชติวรกิจ (ภูเขา)

ชนิศา วุฒิโชติวรกิจ (ภูเขา)

นักจิตวิทยาการปรึกษา on mind way counseling center

Tags :
Share This Post :

Related Post

ชีวิตคู่

ชีวิตคู่ เหมือน ลิ้นกับฟัน… แต่ถ้า “สื่อสารดี” ทะเลาะกันก็ไม่ Toxic

เป็นปกติที่ยิ่งคนเราสนิทกันมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสได้เห็นถึงตัวตนต่าง ๆ ซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น จึงไม่แปลกเลยที่จะมี “ความขัดแย้ง” “กระทบกระทั้ง” “ผิดใจ” หรือ “ไม่เข้าใจกัน” ยิ่งในชีวิตคู่แล้ว ยิ่งมีความซับซ้อนขึ้นไปใหญ่ เพราะมันเต็มไปด้วย “ความคาดหวัง” และ “ความต้องการ” ที่เรามีทั้งต่อตัวเองและมีต่อคนรักของเรา จึงทำให้ความขัดแย้งมักเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง

Read More »
กังวล

“ความกังวล” ของเราต่างกัน… ชวนรู้จัก 5 แบบของความกังวล

ความคิดกังวลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และเป็นเรื่องปกติ แต่หากความคิดนั้นเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำให้คุณภาพของการใช้ชีวิตลดลง อาจเป็นสัญญาณว่าเราอาจเข้าข่ายเป็นโรควิตกกังวล

Read More »
คุยกับเพื่อน

คุยกับนักจิต vs คุยกับเพื่อน ต่างกันยังไง??

แม้ว่าจะเป็น “พื้นที่ปลอดภัย” เหมือนกัน แต่การคุยกับเพื่อน และนักจิตวิทยา ก็มีหลายประเด็นที่มีความแตกต่างกัน บทความนี้ on mind way จึงได้รวบรวมประเด็นความแตกต่างเหล่านั้นมานำเสนอให้ทุกคนได้เข้าใจมากขึ้น

Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save