เพื่อนเหมือนจะ “ซึมเศร้า” ช่วยยังไงได้บ้าง?

เพื่อน ซึมเศร้า
เคยเป็นมั้ย บางทีรู้รู้สึกเหมือนเพื่อนจะกำลังอยู่ในภาวะซึมเศร้า รู้สึกว่าเพื่อนไม่ไหว แต่เราก็ไม่รู้จะช่วยยังไงดี วันนี้เลยมี 6 ข้อที่เราพอจะช่วยเพื่อนได้มาฝากกัน

1. ไม่ตัดสินกัน : แต่ละคนมีประสบการณ์ไม่เหมือนกัน แม้จะเจอเหตุการณ์แบบเดียวกัน แต่ละคนก็อาจรับรู้และตอบสนองไม่เหมือนกัน ดังนั้นอย่าเพิ่งตัดสินเพื่อนว่า เรื่องที่เขาเจอไม่ใช่เรื่องใหญ่ สิ่งที่เขาคิดและทำนั้นถูกหรือไม่ถูก หรือทำไมเพื่อนไม่หายสักที

2. รับฟังด้วยความเข้าใจ : เมื่อเพื่อนพร้อมเล่า แสดงให้เห็นว่าเราพร้อมที่จะ รับฟังและทำความเข้าใจเขาว่าเกิดอะไรขึ้น เขาคิด เขารู้สึกยังไง เพราะอะไรบ้าง เพื่อนจะได้รู้สึกว่ามีคนอยากเข้าใจ และอยู่ตรงนั้นกับเขา

3. ชวนเพื่อนมาทำ Self-Care : พยายามชวนให้เพื่อนกลับมาดูแลตัวเอง เช่น ทานอาหารอร่อย ๆ ที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย ชวนทำสิ่งที่เขาชอบหรือทำแล้วรู้สึกดี ชวนมา connect และใช้เวลากับคนอื่นๆ ที่เขารู้สึกสบายใจที่จะอยู่ด้วย เพื่อนจะได้มีความรู้สึกทางบวกมากขึ้น

4. สังเกตสัญญาณเตือน : ติดต่อ ถามไถ่เพื่อนเป็นระยะ ๆ และ หากสังเกตพบสัญญาณที่น่าเป็นห่วงจากเพื่อน เช่น รู้สึกสิ้นหวัง ไม่พบปะผู้คนเหมือนแต่ก่อน ไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ปกติเหมือนเดิม หรือ พูดถึงการทำร้ายตนเอง ควรรีบแนะนำให้พบผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วที่สุด

5. เชียร์ให้เพื่อนพบผู้เชี่ยวชาญ : การดูแลที่ดีที่สุดคือการเข้ารับบริการกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักจิตบำบัด ลองชวนเพื่อนให้ไปหาดูนะ แต่ที่สำคัญ คือเพื่อนต้องสมัครใจไปด้วยนะ ถ้าเพื่อนยังไม่พร้อมไป อาจจะลองคุยกันดูว่าอะไรทำให้เพื่อนไม่สบายใจที่จะไป จะได้ช่วยกันหาทางออกต่อไป

6. อย่าลืมดูแลใจ “เรา” ด้วย : ฟังเพื่อนเยอะ ๆ แล้ว อย่าลืมกลับมาทบทวน สะท้อนกับตัวเองในฐานะคนรับฟังด้วยนะ ว่าเราฟังเพื่อนแล้วรู้สึกยังไงบ้าง ใจเรายังไหวอยู่ไหม หากมีช่วงไหนที่เริ่มรู้สึกไม่ไหว อย่าลืมว่า นอกจากใจของเพื่อนแล้ว ใจเราก็สำคัญมากๆ เหมือนกัน กลับมาให้เวลาดูแลกายใจของเราด้วยนะ

 

🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱

🔆 อยากปรึกษานักจิตวิทยา แอดไลน์สอบถามได้ที่
Line : @onmindway / คลิกเพื่อแอดไลน์ https://lin.ee/JB46W3W

🔆 รายชื่อนักจิตวิทยาของเรา
https://onmindway.com/psychologist/

Picture of สุทธจิต บูรณกานนท์

สุทธจิต บูรณกานนท์

นักจิตวิทยาการปรึกษา on mind way counseling center

Tags :
Share This Post :

Related Post

ชีวิตคู่

ชีวิตคู่ เหมือน ลิ้นกับฟัน… แต่ถ้า “สื่อสารดี” ทะเลาะกันก็ไม่ Toxic

เป็นปกติที่ยิ่งคนเราสนิทกันมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสได้เห็นถึงตัวตนต่าง ๆ ซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น จึงไม่แปลกเลยที่จะมี “ความขัดแย้ง” “กระทบกระทั้ง” “ผิดใจ” หรือ “ไม่เข้าใจกัน” ยิ่งในชีวิตคู่แล้ว ยิ่งมีความซับซ้อนขึ้นไปใหญ่ เพราะมันเต็มไปด้วย “ความคาดหวัง” และ “ความต้องการ” ที่เรามีทั้งต่อตัวเองและมีต่อคนรักของเรา จึงทำให้ความขัดแย้งมักเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง

Read More »
กังวล

“ความกังวล” ของเราต่างกัน… ชวนรู้จัก 5 แบบของความกังวล

ความคิดกังวลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และเป็นเรื่องปกติ แต่หากความคิดนั้นเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำให้คุณภาพของการใช้ชีวิตลดลง อาจเป็นสัญญาณว่าเราอาจเข้าข่ายเป็นโรควิตกกังวล

Read More »
คุยกับเพื่อน

คุยกับนักจิต vs คุยกับเพื่อน ต่างกันยังไง??

แม้ว่าจะเป็น “พื้นที่ปลอดภัย” เหมือนกัน แต่การคุยกับเพื่อน และนักจิตวิทยา ก็มีหลายประเด็นที่มีความแตกต่างกัน บทความนี้ on mind way จึงได้รวบรวมประเด็นความแตกต่างเหล่านั้นมานำเสนอให้ทุกคนได้เข้าใจมากขึ้น

Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save