3 มุมมองทางลบที่สัมพันธ์กับ โรคซึมเศร้า (Depression)

โรคซึมเศร้าเป็นหนึ่งในความเจ็บป่วยทางจิตใจที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยทางชีววิทยา เช่น ฮอร์โมน สารเคมีในสมอง ปัจจัยทางบุคลิกภาพ และสภาพแวดล้อมรอบตัว 

บุคคลที่เป็นโรคซึมเศร้าสังเกตอาการได้จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ความรู้สึก ความคิด ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ความสามารถในการเรียนหรือการทำงานลดลง รวมถึงอาจมีอาการทางกายร่วมด้วย เช่น ปัญหาการนอน เบื่ออาหาร หรือรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ อย่างไรก็ตามโรคซึมเศร้านั้นสามารถดีขึ้นได้จากการรักษากับจิตแพทย์ การพูดคุยกับนักจิตวิทยา รวมไปถึงการได้รับความเข้าใจ กำลังใจและการสนับสนุนทางบวกจากตนเอง และคนรอบข้าง

สำหรับบทความนี้ เราเลือกที่จะนำเสนอประเด็นของมุมมองความคิด และความรู้สึกทางลบที่มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้าเพราะเราอยากให้ทุกคนได้เข้าใจ และลองสังเกตความคิด ความรู้สึก หรืออารมณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองและคนรอบข้าง เพราะหากเราสามารถสังเกต และรับรู้ถึงมุมมองทางลบที่เกิดขึ้นได้เร็วก็จะช่วยให้เราพยายามมองหาแนวทางในการจัดการและรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้เร็วขึ้นตามไปด้วย

โดย 3 มุมมองความคิดและความรู้สึกทางลบที่มีความสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า คือ ความรู้สึกไร้ค่า (Worthlessness) จากการมีมุมมองทางลบกับตนเอง รู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าคนอื่น ความรู้สึกสิ้นหวัง (Hopelessness) จากการมีมุมมองทางลบกับอนาคตรู้สึกว่าอนาคตเป็นสิ่งที่มืดมน น่ากลัวและเลือนลาง และ ความรู้สึกหมดสิ้นหนทาง (Helplessness) จากการมีมุมมองทางลบกับโลก ในแง่ของการมองว่าโลกโหดร้าย ไม่มีใครคอยสนับสนุน

ซึมเศร้า อธิบาย

มุมมองความคิดและความรู้สึกทั้ง 3 อย่างข้างต้นนั้น อาจจะเกิดขึ้นพร้อมๆกัน หรือเกิดขึ้นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้เมื่อเราต้องเผชิญกับสถานการณ์หรือเรื่องราวที่เข้ามากระทบกระเทือนจิตใจซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของสภาวะทางจิตใจและเราก็สามารถที่จะจัดการหรือรับมือกับความคิดเหล่านั้นด้วยตนเองได้ แต่ถ้าหากมุมมองความคิดและความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเริ่มส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิต ก็ถือเป็นสัญญาณที่บอกให้เราต้องหาแนวทางในการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นจากคนรอบตัวหรือผู้เชี่ยวชาญ


🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱

🔆 อยากปรึกษานักจิตวิทยา แอดไลน์สอบถามได้ที่
Line : @onmindway / คลิกเพื่อแอดไลน์ https://lin.ee/JB46W3W

🔆 รายชื่อนักจิตวิทยาของเรา
https://onmindway.com/psychologist/

Picture of ชนิศา วุฒิโชติวรกิจ

ชนิศา วุฒิโชติวรกิจ

นักจิตวิทยาการปรึกษา on mind way counseling center

Tags :
Share This Post :

Related Post

ชีวิตคู่

ชีวิตคู่ เหมือน ลิ้นกับฟัน… แต่ถ้า “สื่อสารดี” ทะเลาะกันก็ไม่ Toxic

เป็นปกติที่ยิ่งคนเราสนิทกันมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสได้เห็นถึงตัวตนต่าง ๆ ซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น จึงไม่แปลกเลยที่จะมี “ความขัดแย้ง” “กระทบกระทั้ง” “ผิดใจ” หรือ “ไม่เข้าใจกัน” ยิ่งในชีวิตคู่แล้ว ยิ่งมีความซับซ้อนขึ้นไปใหญ่ เพราะมันเต็มไปด้วย “ความคาดหวัง” และ “ความต้องการ” ที่เรามีทั้งต่อตัวเองและมีต่อคนรักของเรา จึงทำให้ความขัดแย้งมักเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง

Read More »
กังวล

“ความกังวล” ของเราต่างกัน… ชวนรู้จัก 5 แบบของความกังวล

ความคิดกังวลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และเป็นเรื่องปกติ แต่หากความคิดนั้นเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำให้คุณภาพของการใช้ชีวิตลดลง อาจเป็นสัญญาณว่าเราอาจเข้าข่ายเป็นโรควิตกกังวล

Read More »
คุยกับเพื่อน

คุยกับนักจิต vs คุยกับเพื่อน ต่างกันยังไง??

แม้ว่าจะเป็น “พื้นที่ปลอดภัย” เหมือนกัน แต่การคุยกับเพื่อน และนักจิตวิทยา ก็มีหลายประเด็นที่มีความแตกต่างกัน บทความนี้ on mind way จึงได้รวบรวมประเด็นความแตกต่างเหล่านั้นมานำเสนอให้ทุกคนได้เข้าใจมากขึ้น

Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save