How to พักใจ พักกาย…แบบไม่รู้สึกผิด

พักใจ พักกาย
เคยเป็นไหม…เหนื่อยกับการเรียน หรือการทำงานจนเริ่มรู้สึกหมดไฟ อยากหาเวลาให้ตัวเองได้พักกาย พักใจบ้าง แต่พอมีเวลาพัก หรือปล่อยให้ตัวเองได้พักกลับเกิดความรู้สึกผิด รู้สึกว่าตัวเองไม่สมควรได้พัก รู้สึกว่าควรเอาเวลานี้ไปทำงานให้เสร็จดีกว่า สุดท้ายก็พักได้ไม่เต็มที่ แล้วพอกลับไปทำงานก็ยิ่งเหนื่อย วนเป็นวงจรแบบนี้ซ้ำไปซ้ำมา กลายเป็นว่าจะเป็นตอนทำงาน หรือตอนพักก็ไม่สามารถใช้เวลาได้อย่างเต็มที่

ดังนั้นในวันนี้เราจะมาพูดถึงแนวทางหรือมุมมองที่จะทำให้เราสามารถพักได้โดยไม่รู้สึกผิด เพื่อให้เราสามารถพักได้อย่างเต็มที่ และกลับไปทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกัน

อย่างแรกคือการปรับมุมมองมาทำความเข้าใจและมองเห็นประโยชน์ของ “การพัก” ทั้งในแง่ของการป้องกันการเกิดภาวะหมดไฟจากการเรียนหรือการทำงาน ได้มีเวลากลับมาทบทวนและทำความเข้าใจตัวเอง รวมถึงเป็นการได้ชาร์จพลังทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อให้พร้อมที่จะกลับไปทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีการศึกษามากมายที่พบว่าการมีเวลาพักผ่อนระหว่างทำงานจะเป็นการส่งเสริมให้การทำงานมี productivity มากขึ้น

อีกเทคนิคหนึ่งคือการกำหนดและวางแผนการพักผ่อนอย่างชัดเจน จะช่วยให้เราสามารถบอกตัวเองได้ว่าตอนนี้คือเวลาพักของเราและเอาตัวเองออกจากการทำงานได้มากขึ้น ผ่านการทำ “Not-To-Do List” คือรายการสิ่งที่เราจะ “ไม่ทำ” ในวันหยุด เช่น จะไม่เปิดคอม ไม่เช็คอีเมล์ หรือไม่รับโทรศัพท์ รวมถึงอาจมีการกำหนดวันหยุดประจำสัปดาห์หรือประจำเดือนให้ชัดเจนและบอกให้คนอื่นรับรู้ว่าวันนี้เราจะไม่ทำงาน

สุดท้ายคือการที่เรากลับมาให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าของการดูแลใจตัวเอง ก็จะทำให้เราสามารถปล่อยตัวเองให้พักได้อย่างเต็มที่มากขึ้น ทั้งจากการหมั่นสังเกตและทำความเข้าใจสัญญาณความเครียดและความเหนื่อยล้าของตนเอง รวมไปถึงการอ่อนโยนและยืดหยุ่นกับตัวเอง บอกตัวเองได้ว่าจะขี้เกียจบ้างก็ไม่เป็นไร

บทความนี้ไม่ได้ต้องการจะสื่อให้ทุกคนเลือกที่จะพักผ่อนเพียงอย่างเดียวจนละเลยการทำงาน แต่เป็นการชวนให้ทุกคนกลับมาให้ความสำคัญและตั้งใจฟังเสียงร่างกายและจิตใจของตนเอง มองการให้เวลาตัวเองเพื่อพักผ่อนเป็นหนึ่งในแนวทางดูแลตัวเองที่ทำได้เป็นประจำทุกวัน แทนรางวัลที่จะได้รับก็ต่อเมื่อทำงานสำเร็จ หรือเป็นโอกาสพิเศษ

ทั้งนี้หากเรารู้สึกว่าเราไม่สามารถจะปล่อยตัวเองให้พักได้อย่างสบายใจ หรือรู้สึกว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือการทำงานมันหนักจนไม่รู้ว่าจะเริ่มให้เวลาตัวเองพักได้ยังไง การมาพูดคุยกับนักจิตวิทยาก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถจัดการเวลาของตนเองได้อย่างเหมาะสม และสามารถหาสมดุลระหว่างการเรียนหรือการทำงานกับการดูแลจิตใจของตัวเองได้มากขึ้น

 

🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱

🔆 อยากปรึกษานักจิตวิทยา แอดไลน์สอบถามได้ที่
Line : @onmindway / คลิกเพื่อแอดไลน์ https://lin.ee/JB46W3W

🔆 รายชื่อนักจิตวิทยาของเรา
https://onmindway.com/psychologist/

Picture of ชนิศา วุฒิโชติวรกิจ

ชนิศา วุฒิโชติวรกิจ

นักจิตวิทยาการปรึกษา on mind way counseling center

Tags :
Share This Post :

Related Post

คุยกับตัวเอง

คุยกับตัวเองยังไง…ให้ดีต่อใจ

การคุยกับตัวเอง (self-talk) คือการสื่อสารกับตัวเองด้วยเสียงจากข้างในของเรา ที่มาจากความคิด ความเชื่อ และประสบการณ์ที่ผ่านมา แน่นอนว่า การคุยกับตัวเอง ไม่ใช่เรื่องแปลกและเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเกือบจะตลอดเวลา รวมทั้งมีผลโดยตรงกับทั้งความคิด ความรู้สึก การกระทำ และการตัดสินใจของตัวเรา บทความนี้ เราจึงอยากนำเสนอแนวทางในการคุยกับตัวเองเชิงบวก 3 แนวทาง

Read More »
ความคิด

รู้จัก ความคิดที่ทำให้เราทุกข์ หรือ “Cognitive Distortions”

Cognitive Distortions คือ“รูปแบบความคิดต่างๆ ที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง นำไปสู่การมองสิ่งต่างๆ ในแง่ลบ ที่ทำให้เรามีความเชื่อทางลบเกี่ยวกับตัวเองหรือสิ่งต่างๆ รอบตัวโดยไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง”

Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save