Empathy vs Sympathy “ความเข้าใจ” ที่ไม่เหมือนกัน

empathy
หลายคนอาจจะเคยได้ยิน หรือเข้าใจความหมายของ Empathy และ  Sympathy มาบ้าง ในขณะที่บางคนก็อาจจะสับสนว่า 2 คำนี้มีความหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร เราเลยอยากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจ 2 คำนี้ให้มากขึ้น

ทั้ง 2 คำ ต่างเป็นความรู้สึกเข้าใจที่เกิดขึ้นเมื่อเราได้รับฟังปัญหาหรือความไม่สบายใจของคนอื่น แต่แตกต่างกันที่ลักษณะ จุดประสงค์ และการแสดงออก

Empathy เป็นความเข้าใจในลักษณะของการเข้าใจและร่วมรู้สึกไปกับความรู้สึกของผู้อื่น จากการมองเรื่องที่เกิดขึ้นในมุมมองเดียวกับเขา เป็นพื้นที่ให้เขาได้เล่าและระบายความรู้สึกโดยไม่แนะนำหรือตัดสิน

ในขณะที่ Sympathy เป็นความเข้าใจในลักษณะของความเห็นใจและสงสาร จากการรับรู้เรื่องราวที่เป็นปัญหาหรือยากลำบากที่คนอื่นกำลังเจออยู่ การแสดงออกจะเป็นการให้กำลังใจ ปลอบใจ หรือพยายามหาทางช่วยเหลือเพราะอยากให้เขาผ่านเหตุการณ์นี้ไปได้ ซึ่งจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพตามตาราง และตัวอย่างด้านล่าง

empathy2
empathy3

ทั้งนี้เราไม่ได้อยากให้มองว่าอะไรคือสิ่งที่ควรหรือไม่ควรทำ เพราะทั้งสองความรู้สึกต่างก็มาจากความหวังดีและห่วงใยต่อคนรอบข้าง แต่อยากให้ทุกคนได้เข้าใจและกลับมาสังเกตตัวเองเมื่อได้รับฟังปัญหาของคนอื่น เพื่อจะได้แสดงความรู้สึกในแบบที่พอดี และเหมาะสมกับทั้งความรู้สึกของตัวเอง และความต้องการของคนรอบข้าง🤍❤️

🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱

🔆 อยากปรึกษานักจิตวิทยา แอดไลน์สอบถามได้ที่
Line : @onmindway / คลิกเพื่อแอดไลน์ https://lin.ee/JB46W3W

🔆 รายชื่อนักจิตวิทยาของเรา
https://onmindway.com/psychologist/

Picture of ชนิศา วุฒิโชติวรกิจ

ชนิศา วุฒิโชติวรกิจ

นักจิตวิทยาการปรึกษา on mind way counseling center

Tags :
Share This Post :

Related Post

ชีวิตคู่

ชีวิตคู่ เหมือน ลิ้นกับฟัน… แต่ถ้า “สื่อสารดี” ทะเลาะกันก็ไม่ Toxic

เป็นปกติที่ยิ่งคนเราสนิทกันมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสได้เห็นถึงตัวตนต่าง ๆ ซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น จึงไม่แปลกเลยที่จะมี “ความขัดแย้ง” “กระทบกระทั้ง” “ผิดใจ” หรือ “ไม่เข้าใจกัน” ยิ่งในชีวิตคู่แล้ว ยิ่งมีความซับซ้อนขึ้นไปใหญ่ เพราะมันเต็มไปด้วย “ความคาดหวัง” และ “ความต้องการ” ที่เรามีทั้งต่อตัวเองและมีต่อคนรักของเรา จึงทำให้ความขัดแย้งมักเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง

Read More »
กังวล

“ความกังวล” ของเราต่างกัน… ชวนรู้จัก 5 แบบของความกังวล

ความคิดกังวลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และเป็นเรื่องปกติ แต่หากความคิดนั้นเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำให้คุณภาพของการใช้ชีวิตลดลง อาจเป็นสัญญาณว่าเราอาจเข้าข่ายเป็นโรควิตกกังวล

Read More »
คุยกับเพื่อน

คุยกับนักจิต vs คุยกับเพื่อน ต่างกันยังไง??

แม้ว่าจะเป็น “พื้นที่ปลอดภัย” เหมือนกัน แต่การคุยกับเพื่อน และนักจิตวิทยา ก็มีหลายประเด็นที่มีความแตกต่างกัน บทความนี้ on mind way จึงได้รวบรวมประเด็นความแตกต่างเหล่านั้นมานำเสนอให้ทุกคนได้เข้าใจมากขึ้น

Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save